วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3


เเบบฝึกหัดทบทวน


 1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย

ตอบ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช 2475  ซึ่งผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ได้แก่ คณะราษฎร์ โดยเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งนี้นั้น เนื่องจากคณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งได้กล่าวไว้ไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาล นโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”  และในส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจะอยู่ในหมวดที่ 2 เรื่องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยามมาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
(ราชกิจจานุเบกษาม 2547, 536)


2. เเนวนโบายเเห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย

ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2492 นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 ดังนี้        
         หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
         มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
         หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
          มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
          หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
          มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
          มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษารัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควรมาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย  

ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญในปีพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกันตรงและมีความแต่งต่างกันดังนี้
        ความเหมือนกัน เช่น
1.     ในการจัดการอบรมนั้น จะต้องอยู่ในการส่งเสริมและอยู่ในภายใต้การควบคุมของรัฐ แต่ในส่วนระดับอุมศึกษาจะให้สถานถานศึกษาดำเนินการเองโดยอยู่ภายใต้กฎหมายที่ได้หนดขึ้น
2.     ในการอบรมในระดับชั้นที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาจะต้องไม่มีการจัดเก็บค่าเล่าเรียน และรั๗จะต้องช่วยเหลือให้ได้มีอุปกรณ์ที่สมควร
3.     รัจจะต้องมีการสนับสนุนการวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา,2511,14, 19)
ในส่วนของความแตกต่างมีดังนี้
                   1.     แนวนโบบายที่เกี่ยวกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2511 และ 2517 รู้มีการสังเสริมวิจัยด้านด้านศิลปวิทยา แต่ในปี 25 แต่ในปี 2517 และ2521 ได้มีการสนับสนุนวิจัยในด้ายสถิติ และเทคโนโลยี
               2.     แนวนโบบายที่เกี่ยวกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2517 รัฐเริ่มกระจายอำนาจเข้าสู่ท้องถิ่มจึงแบ่งการดู้แลสถานศึกษาบ้างส่วนให้อยู่ในสังกัดและภาพใต้การดูแลขององค์กรท้องถิ่น
                3. แนวนโบบายที่เกี่ยวกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2521 ในด้านของคุณลักษณะของการส่งเสริมคนเปลี่ยนแปลงไปคือ “ต้องพัฒนาเยาวชนชองชาติให้มีร่างการที่ สมบูณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศษฐกิจและสังคมและเพื่อความั่นคงของรัฐ (ราชกิจจานุเบกษา, 2521,17)
                4.     แนวนโบบายที่เกี่ยวกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2521 ให้เสรีของแต่ละบุคคลในการเลือกเข้าอบรมโดยยึดตามหลักความเสมอภาค
                   5.     แนวนโบบายที่เกี่ยวกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2521 ยังช่วยส่งเสริมเด็กยากไร้ และขาดแคลนโดยการมอบทุนและปัจจัยต่างๆในการฝึกอบรม

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย 

ตอบ   มีความแตกต่างกันตรงที่ประเด็นที่ 1 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ไม่บังคับด้านการศึกษาแต่ละบุคคล ดังนั้นแล้วทุกคนจะได้รับการศึกษาเลือกสถานศึกษาโดยให้เสรีในการเลือกตัดสินใจให้เสรีภาพในการศึกษา  ส่วนในประเด็นที่ 2 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517  การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น และได้มีการกระจายอำนาจในบ้างส่วนไปยังท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้เริ่มมีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมกันของผู้ที่เข้ารับการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา  และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอนมีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน และในด้านอุปกรณ์ต่างๆ ยิ่งไปกกว่านั้นในการสนุบสนุนการวิจัยได้เปลี่ยนไปตามความต้องการของโลกและประเทศในยุคนั้นๆ แต่ก็ยังคงยึดหลักเดิมที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย

ตอบ  มีความส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ รัฐเป็นสถาบันหลักในการจัดระบบการศึกษาอบรมโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาในขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และนอกจากนี้ในการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายต่างๆ ย่อมต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและการคุ้มครองของรัฐ



6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง  อธิบาย

 ตอบ  เหตุที่ต้องระบุประเด็นที่รัฐต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง เนื่องในสังคมของประเทศไทยมีฐานะทางครอบครัวที่แต่ต่างกัน ซึ่งมีทั้ง รวย ปานกลางและจนและแนวโน้มของคนส่วนน้อยมีฐานะอยู่ในระดับที่รวย นอกจากนั้นจัดอยู่ในกลุ่มฐานะปานกลาง และจน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญก็ได้กับหนดไว้ว่าคนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แลพด้วยเหตุนี้ในจัดการศึกษาเองก็ต้องจัดอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงเพราะทุกคนจะต้องได้รับสิทธิและเสรีภาพความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพื่อต้องการให้ทุกคนมีการศึกษาที่เท่าเทียม โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ อันเป็นเหตุให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้ในที่สุด แต่ในการปรับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจที่ต้องบการพัฒนา

 7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น

ตอบ  หากไม่ปฏิบัติตามที่รัฐกำหนด แสดงว่า เป็นบุคคลที่ละเมิดต่อหน้าที่และรวมถึงสิทธิของตนเองเช่นเดียวกันในการเข้ารับการศึกษาตามเงื่อนไขและวิธีการกฎหมาย ซึ่งอาจะจะเป็นผู้ละเมิดกฎหมายและผิดกฎหมาย และอาจะนำไปสู่การรับโทษ และปรับในการไม่ปฏิบัติตามกฎ

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม เเละถ้าเปิดโกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ   รัฐธรรมนูญฉบับที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ได้แก่  ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ. 2540-2550) และหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะในการจัดการศึกษาที่กระจายอำนาจเข้าสู่ท้องถิ่นเช่นนี้ทำให้ผู้คนในภมิภาคต่าง ๆ ได้เข้าใจและเข้าถึงการศึกษามากยิ่งขึ้น เห็นความสำคัญ ในการเข้าศึกษาเล่าเรียนมากยิ่งขึ้น เพิ่มตัวเลือกในกระประกอบอาชีพ การพัฒนานาตนให้เข้าทันกับยุคสมัย ทั้งนี้ในการจัดการศึกษาที่รัฐมองให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลสถานศึกษาในบริเวณนั้นๆ จะเป็นการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพที่มีความเสมอภาคมากยิ่งขึ้น ทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะเข้าอบรมศึกษาเล่าเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมีองค์กรที่ค่อยสนับสนุนและพัฒนาอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งมีคุณภาพเทียบเท่ากับที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ

9. เหตุใดการจัดการศึกษา  รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอ ภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย

ตอบ  เพราะรัฐพึงสงเสริมและช่วยเหลือเด็กในทุกรูปแบบให้มีความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา อีกทั้งให้เยาวชนเรียนรู้สิทธิและเสรีภาพที่เสมอภาคกันในทุกด้านของการศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเท่าเทียมและปกติสุข เป็นบุคคลความสมบูรณ์ในด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นเยาวชนที่สมบูรณ์ทางร่ายกาย จิตใจ และสติปัญญา และนอกจากนี้นั้นก็เพื่อช่วยเหลือให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปด้วยความรู้ ความสามารถและคุณธรรมที่ดี

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย

ตอบ  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำให้เกิดนโยบายเรียนฟรี 15 ปีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน มีการมอบทุนการศึกษา และการให้การศึกษาแก่ผู้พิการในการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติกับเด็กทั่วไปได้ ดังนั้นทำให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้นและสามารถลดความเลื่อมล้ำในด้านการศึกษาในประเทศได้  เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้จึงมีพัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพการศึกษาอบรมให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา  คุณธรรมจริยธรรมเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา      รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นเดียวกัน และในการจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  หรือเรียกชื่อว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น”  ซึ่งส่งผลให้เยาวชนมีความรู้ ความสามารถ ได้รับการส่งเสริมที่ทั่วถึง ทำให้เยาวชนเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติและ  มีความสามารถในการแข่งในเวทีโลกได้มากยิ่งขึ้นและเป็นการยกระดับการศึกษาไทยให้ก้าวหน้ายิ่งไปกว่าเดิม ทั้งนี้ก็จะส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสในการแข่งขันในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น อาจกล่าวได้ว่า การจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทำให้ศึกษาของไทยมีระบบ มีความคล่องตัว             มีความสามารถในการแข่งขันในระดับต่าง ๆและในเวทีโลกมากขึ้น อีกทั้งยังลดความเลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาได้มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา


วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1




                           😃 ประวัติของตนเอง 😃




สวัสดีครับ กระผมชื่อ นายธนกฤษ  พัชนี ชื่อเล่น กิม เกิดเมื่อวันที่ 05 ตุลาคม พ.ศ.2539 อายุ 22 จบการศึกษาชั้นอนุบาลและประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านทวดทอง และเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 1- 6 ที่โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช โรงเรียนซึ่งชื่อคล้ายจังหวัดที่ผมอาศัยอยู่ ในการศึกษาในระดับมัธยมนี้ ด้วยเนื่องตนเองพยายามที่จะไม่หลีกหนีความท้าทาย หรือโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างสุดความสามารถ จึงได้มีโอกาสทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น เข้าร่วมแข่งขับตอบปัญหาอาเซียน พิธีกร เล่นดนตรีไทย ขับร้องประสานเสียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโอกาสพัฒนาเฉพาะทางด้านผู้นำ คือ การเป็นรองหัวหน้าห้อง หัวหน้าสายชั้นเคมี และประธานชุมนุม ASEAN NEW GEN และจากที่ศึกษาเล่าเรียน ณ ที่แห่งนี้ทำให้ทราบถึงตัวตนที่อยากจะเป็นและอาชีพที่ใฝ่ฝัน จึงได้เข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และปัจจุบันเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

💪อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง  💪


การสอนเข้ากับยุค ชัดเจนในศาสตร์ตน เชียวชาญวิชาชีพ แต่หนักแน่นในคุณธรรม

👪เป้าหมายของตนเอง 👪



มีอาชีพและการงานที่มั่นคง เพื่อเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้ และการเป็นครูที่ดีที่สามารถสอนในศาสตร์ที่ตนเรียนและสามารถที่จะสอนชีวิตให้กับนักเรียนได้

อนุทินที่ 2



คำถามท้ายบทที่ 1 


 คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง



1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร

 ตอบ   เพราะการดำรงอยู่ของกฎหมาย เป็นสิ่งที่ดี และยังสามารถช่วยจัดระเบียบ ความเรียบร้อย ความสงบสุขในการดำเนินชีวิตในกลุ่มสังคมต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อการดำเนินการตามประชาวิถีของผู้คนในแต่ละสังคม แต่หากไร้ซึ่งกฎหมายอาจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย หรือแม้กระทั้งการก่อความรุ่นแรงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อผู้อื่น โดยขาดการเคารพซึ่งกันและกันของมนุษยชาติ 

2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร

ตอบ คงเป็นไปได้ยากมากที่มนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หากปราศจากกฎหมายเป็นเครื่องยึด และเป็นหลักในการเคารพการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กฎหมายได้มีและเกิดขึ้นมาเป็นเวลาช้าจากรุ่นต่อรุ่นมีการส่งต่อและปรับเปลี่ยนให้เข้าต่อยุคและสมัยนั้นที่เกิดปัญหาขึ้น กล่าวได้ว่า ขนาดในสมัยโบราณกาลยังมีการการใช้กฎหมายเพื่อนรักษาความสงบสุขได้ ฉ นั้นปัจจุบันเองก็ย่อมยึดถึงสิ่งที่ดีงานนี้ไว้เพื่อนเป็นสิ่งยึดและกฎเกณฑ์ในการห้ามปราม

3.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายให้ประเด็นต่อไปนี้

ตอบ ก.ความหมาย
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ ทุกคนต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนตามกฎบัญญัติที่ได้ว่าไว้
ข.ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย สามารถแบ่งได้  5 ประการ
1.ต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ มาจากผู้ที่มีอำนาจสูงสุด แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นปกครองโดยระบอบใด หากปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดคือ พระมหากษัตริย์ ดังนั้นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์จึงถือเป็นกฎหมายหากปกครองในระบอบเผด็จการที่มีการปฏิวัติ รัฐประหาร คณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด คำสั่งของคณะปฏิวัติจึงถือเป็นกฎหมาย  หากปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดยแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ทั้งนี้ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางสภา
ดังนั้นกฎหมายที่ออกจากสภานิติบัญญัติจึงถือเป็นกฎหมายที่ออกมาจากอำนาจสูงสุดของประเทศ คือ ประชาชนนั้นเอง แต่บางกรณีผู้ที่มีอำนาจสูงสุดอาจจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นออกกฎหมายแทนได้ โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตย   สภานิติบัญญัติอาจมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมายแทนได้ เช่น รัฐบาลออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง หรือมอบให้ฝ่ายตุลาการออกกฎหมาย หรืออาจมอบอำนาจให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ออกกฎหมาย เช่น เทศบาลออกเทศบัญญัติ กรุงเทพมหานครออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร 
2.ทุกคนต้องปฎิบัติตามเป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจสั่งออกมาให้ประชาชนต้องปฏิบัติตามหรือละเว้นปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามคำสั่ง เช่น ห้ามลักทรัพย์ ให้ผู้มีรายได้เสียภาษีอากร เป็นต้น แต่หากมีลักษณะเป็นเพียงเชื้อเชิญให้ประชาชนร่วมกันทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งประชาชนอาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เช่น ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนประหยัดพลังงาน อย่างนี้ไม่ถือเป็นกฎหมาย
3.ต้องบังคับใช้โดยทั่วไป เมื่อกฎหมายประกาศใช้แล้วจะต้องใช้บังคับโดยทั่วไป ไม่เจาะจงเพื่อใครคนหนึ่ง ทั้งนี้ต้องใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาค แต่ก็อาจมีข้อยกเว้นบางประการ เช่น ฑูตอาจไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
                   4.ต้องใช้บังคับโดยเสมอไป เมื่อประกาศใช้กฎหมายใดแล้ว ก็ใช้เรื่อยไปจนกว่าจะยกเลิกกฎหมายนั้น
                   5.ต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดกระทำหรือละเว้นกระทำการในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติห้าม หรือกำหนดไว้อันถือว่าเป็นการละเมิดต่อกฎหมายแล้ว ผู้นั้นจะต้องได้รับผลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ สภาพบังคับนี้มีทั้งทาง อาญา และทาง แพ่ง ในทางอาญาเรียกว่า โทษ มีอยู่ 5 สถานคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง และ ริบทรัพย์ ส่วนในทางแพ่งเป็นเรื่องบังคับให้ชำระหนี้ มี 3 ประการ คือ กระทำการ งดเว้นกระทำการ และโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบทรัพย์สิน ซึ่งเรียกว่า วัตถุแห่งหนี้
 ค.ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมายพอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลกัษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติพระราชกา หนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติซึ่งกฎหมายดงักล่าว ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลกัษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การเล่นบาสเก็ตบอลเป็นกีฬา หากเล่นตามกติกา หากคู่ผู้เล่นฝ่านตรงข้ามบาดเจ็บ สาหัส หรือถึงแก่ชีวติ ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย นอกจากนี้ในกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ย่อมถือว่า ไม่มีความผดิ เพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมาปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลัก ทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้น ต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนา ไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่า สมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉับบนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายใหเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดงักล่าว เช่น กฎหมายลักษณะอาญาประกาศใช้ใหม่ ๆ บัญญัติว่า “การถืออาวุธในถนนหลวงไม่มีความผิดถ้าไม่มีกระสุน” ต่อมาพระบิดากฎหมายได้ทรงเขียนอธิบายเหตุผลว่า การถืออาวุธในถนนหลวงควรมีข้อห้ามหรือเป็นความผิด” จึงได้แก้ไขกฎหมาย ดังกล่าว
 ง.ประเภทของกฎหมาย
ในการแบ่งประเภทของกฎหมายนั้นขึ้นอยู่ว่าจะใช่เกณฑ์ใดในการแบ่ง เช่น การแบ่งตามแหล่งกำเนิด แบ่งตามเนื้อหา  แบ่งตามสภาพบังคับ เป็นต้น แต่การแบ่งประเภทของกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยสามารถแบ่งโดยทั่วไป ได้ดังนี้
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
    1. กฎหมายที่เป็นลายลกัษณ์อักษรและไม่เป็นลายลกัษณอักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลกัษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชญญัติประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกา หนด พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือ ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาศยัอำนาจจากพระราชบัญญัติเช่น เทศบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับ ทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกบัผูก้ระทา ผิดทางอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กัน ไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับ ให้ชำระหนี้การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรมอนึ่งสำ หรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้เช่น กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์         พระราชบัญญัติคุม้ครองผู้บริโภคและพระราชบัญญัติการล้มละลายอีกทั้งยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีกตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลักกล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนซึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำ นาจบังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทำผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งในประมวลกฎหมายนี้กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญาการร้องทุกข์การกล่าวโทษว่า มีการกระทำ ผิดอาญา เกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาลการพิจารณาคดีและการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผกู้ระทำผิด สำหรับคดีแพ่งกฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนด ขั้นตอนต่าง ๆไว้ เป็นวิธีการดำเนินคดีเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้เป็นไปคำพิพากษายังมีกฎหมายบางฉบับ มีทั้งที่เป็นสารบัญญติและวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็นประเภทใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดี ล้มละลายรวมอยู่ด้วยการที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดใหดู้ว่าสาระนั้น หนักไปทางใดมากกว่ากัน
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือกฎหมายมหาชน ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบ แบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด สำหรับวิธีและขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา และพระบัญญัติอื่น ๆ เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัท มหาชน จำกัด เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทา นิติกรรม สัญญา มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุมครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพัน โดยการทำสัญญา ปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
ข. กฎหมายภายนอก มีดังน็
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกนั ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน 4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น กฎบตัรสหประชาชาติสนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอคัรราชทูต เอกสิทธิในทางการทูต
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับ ความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกบั บุคคลที่อยู่ นรัฐอื่น ๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้เช่น สนธิสัญญาส่งผรู้ายข้ามแดน

4.ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย

ตอบ การมีอยู่ของกฎหมายของนานาประเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดขอบเขตของนานประเทศ บางทวีป บางพื้นที่อาจมะกฎหมายที่ให้แตกต่างกัน แต่สาเหตหลักที่ยังคงงใช้        ก็เพื่อรักษาความสงบสุขทั้งภายในและภายนอกประเทศ สามารภที่จะเป็นพลเมทองโลกที่อาศัยด้วยกันถึงแม้นไม่ใช้คนประเทศเหมือนกันก็ตาม

5.สภาพบังคับบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ สภาพบังคับ (SANCTION) เป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์  หรืออาจกกล่าวได้ว่า เป็นสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้นจึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับมาตรการบังคับของกฎหมาย  กฎหมายได้กำหนดมาตรการ และ วิธีการบังคับไว้ ๒ ประเภทคือ (๑) การลงโทษ (๒) การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ.

6.สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ  สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายในแพ่งและอาญาแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

7.ระบบกกฏหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย

ตอบ ระบบกฎหมายเเบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้    
7.1 ระบบซีวิลลอร์  (Civil Law) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 
7.2 ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8.ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไร มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตอบ ประเภทของกฎหมายไม่การแบ่งที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับนักวิชาการต้องการแบ่งอย่างไร เช่น การแบ่งตามแหล่งกำเนิด แบ่งตามเนื้อหา  แบ่งตามสภาพบังคับ เป็นต้น แต่การแบ่งประเภทของกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยสามารถแบ่งโดยทั่วไป ดังนี้
ก. กฎหมายภายใน
    1. กฎหมายที่เป็นลายลกัษณ์อักษรและไม่เป็นลายลกัษณอักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
ข. กฎหมายภายนอก
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

9. ท่านเข้าใจคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร

ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำ นาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” ซึ่งในการจัดลำดับจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับ ที่สูงกว่า ไม่ได้  โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลาและทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy of laws) มีดังนี้
   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชนหากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ ตอบสนองและสอดคล้องนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา ได้แก่ พระราช  บัญญัติเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ หากเกี่ยวพนั กันหลายเรื่อง ออกในรูปประมวลกฎหมายก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น สำหรับประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จจะต้องมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้น ๆ อีกครั้งหนึ่ง
   3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนา ของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ กรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศเมื่อตราแล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (2 หรือ 3 วัน) ถ้าสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเสมือนพระราชบัญญัติ ถ้าไม่อนุมัติมีอันตกไปไม่มีผล
4     4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ ดังเช่น พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโอการได้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ให้พระราชอำนาจไว้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนด ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาอาจขัดข้องหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
        5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำ ของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย และพระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประกาศพระบรมราชโองการและจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ยังมีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภามีความสำคัญมากกว่า พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศยัอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
       6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออกเพื่อให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น ๆ เป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหาร เช่นเดียวกับ พระราชกฤษฎีกา ต่างกับ พระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่ เป็นว่าเรื่องสำคัญมาก ถ้าสำคัญรองลงมาก็จะออกเป็นกฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมาย แม่บทนอกจากกฎกระทรวงหากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติจะออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศ เพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย
      7. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแลให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นที่องค์กรนั้นบริหารรับผิดชอบ จึงให้อำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจออกข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อจัดเรียบสังคมดูแลทุกข์สุขของประชาชน มีผลใช้บังคับ เฉพาะพื้นที่ในจังหวัด นั้น ๆ จะบังคับนอกพื้นที่จังหวัดมิได้
    8. เทศบัญญัติเป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ่งอาศัยความหนาแน่นของประชากรตามที่พระราชบัญญัติกำหนด
   9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นกฎหมายที่มีลำดับที่ต่ำที่สุด ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ที่จะปกครองดูแล และให้บริการสาธารณะแก่ตำบลเพื่อใช้ในการบริหารงานราชการในท้องถิ่นที่ของตำบลนั้น

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการชุมนุมกันอน่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดข้าวไม่ให้ประชาชนชุมนุมกันอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก

ตอบ จากเหตุการณ์ดังกล่าวกระผมคิดว่ารัฐบาลกระทำผิดและกระทำถูกในบางกรณี ในการบริหารงานของคณะรัฐบาลนอกจากบริหารเรื่องเศรษฐกิจที่เป็นปากท้องของชาวบ้านแล้ว ยังมีหน้าที่ในการรักษาความสงบสุขของประเทศเช่นเดียวกัน ในการสั่งยุติในการชุมนุมนั้น รัฐบาลอาจมองเห็นความสำคัญว่า ถึงแม้นการชุมนุมที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างสงบ แต่อาจจะมีผู้ประสงค์ร้ายทำให้การชุมนุมอาจจะส่งผลเสียได้ จึงได้ตัดสิ้นตัดไฟแต่ต้นลม โดยการยุติการชุมนุม แต่รัฐบาลก็ผิดที่ใช่การยุติการชุมนุมโดยการใช้ความรุ่นแรงขนาดนั้น เพราะเนื่องจากว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวไว้ว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเอง เมื่อประชาชามรู้สึกว่าตนเองเสียสิทธิก็ย่อมต้องออกมาเรียกร้องซึ่งตามหลักประชาธิปไตย ดังนั้นรัฐบาลขัดขวางการประชุมของประชาชนที่ใช้ความรุ่นแรงนี้ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งแสดงว่ารัฐบาลละเมิดสิทธิของประชาชน

11.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ    กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบันเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  และแก้ไขเพิ่มเติม 2545, 2553 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นกฎหมายหลักเทศที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา       ถือได้ว่าเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติหรือการพัฒนาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน หรือด้านบุคลากรเอง หรือการจัดการอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้นกฎหมายการศึกษาจึงเปรียบเสมือนตัวขับเคลื่อนและกรอบแนวทางในการปฏิบัติให้บุคคลทางการศึกษา และระบบทางการศึกษาควรระลึกและปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง

12.ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนรายวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลต่อท่านอย่างไรบ้าง

ตอบ ในการทำงานในที่ต่าง ๆ ถึงไม่ใช่อาชีพครูก็ตามก็ย่อมต้องทำตามกฎของบริษัทนั้น ๆ ถ้าไม่กระทำตามก็มีสิทธิที่จะพ้นสภาพการเป็นพนักงานได้ ในทางเดียวกันในการประกอบอาชีพครูในอานาคต ถ้าไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่ควรเป็นและดำเนินตาม ถ้าหากดำรงอาชีพครูก็จะเป็นครูที่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรเพราะไม่รู้สิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่ห้ามทำ อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเอง ต่อโรงเรียน หรือแม้ระทั่งภาพลักษณ์ในการเคารพนับถือ หรือถึงขั้นร้ายแรง อาจมีสิทธิต้องลาออกจากข้าราชการอาชีพครู   ดังนั้นแล้วการประกอบอาชีพครูโดยที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายการศึกษาแม้แต่น้อยเลยคงไม่ใช่เรื่องดีนัก